Skip to content

ระบบปรับอากาศ / air conditioning system

ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System) คือ ระบบที่ทำหน้าที่ปรับสภาพของอากาศให้เหมาะกับสภาวะที่ผู้ใช้ต้องการ อาจจะเป็นการปรับอากาศเพื่อการเก็บรักษาอาหารหรือสิ่งของ และรวมถึงการปรับอากาศเพื่อการอยู่อาศัยในอาคารด้วย โดยอาจจะเป็นการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ และยังต้องมีการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเร็วลม กลิ่นและสิ่งเจือปนในอากาศด้วย

ชนิดของระบบปรับอากาศ

 มีอยู่ 3 ระบบ คือ ระบบปรับอากาศติดหน้าต่าง, ระบบปรับอากาศแยกส่วน ที่เรียกว่า สปลิทไทพ์ (Split Type) และระบบปรับอากาศเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)

1.ระบบปรับอากาศติดหน้าต่าง

ต้องเตรียมโครงไว้สำหรับรับน้ำ หนักของตัวเครื่อง เพราะมีน้ำหนักมาก และต้องติดลอยอยู่ กลางกำแพง ถ้าไม่เตรียมไว้จะเกิดการแตกร้าวได้ เพราะความ สั่นสะเทือนของเครื่อง

2.ระบบปรับอากาศแยกส่วน

จะมีปัญหามากถ้าตัวเครื่องเป่าลม เย็นอยู่กลางห้อง เพราะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำว่าจะไปทาง ใด และถ้าต่อลงห้องน้ำ ก็อาจมีกลิ่นย้อนเข้ามา ทำให้ภายใน ห้องมีกลิ่นเหม็น และภายนอก ต้องมีที่วางคอนเดนเซอร์

เครื่องทำลมเย็นของ เครื่องปรับอากาศ แบบแยกส่วน จะประกอบด้วย โบล์เวอร์ และคอล์ยเย็น ซึ่งมีสารทำความเย็น ระเหยอยู่ ภายในคอล์ยที่ความดันต่ำ ถ้าเป็นสารทำความเย็นฟรีออน 22 ที่ใช้กันจะมีความดันประมาณ 4.5 บาร์ ขณะที่ท่อทน ความดันได้กว่า 20 บาร์ โอกาสที่จะเกิดการระเบิดจึงน้อยมาก และหากจะมีการระเบิดเกิดขึ้น เพราะความบกพร่องของฝีมือ การประกอบก็จะไม่เกิดไฟไหม้ขึ้น เพราะสารทำความเย็นไม่ติดไฟ เป็นสารที่สามารถใช้ดับไฟได้ โดยเฉพาะใช้เป็นสารดับไฟ ในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการเข้าไปไล่ อากาศ (ออกซิเจน) ออกไปจากห้อง หรือทำให้ อากาศ ภายใน ห้องมีสัดส่วนออกซิเจนเจือจางจนไฟดับไป

3. ระบบปรับอากาศเครื่องทำน้ำเย็น (WATER CHILLER)

เครื่องปรับอากาศ ที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ โดยทั่วไปจะเป็น เครื่องปรับอากาศ ระบบ น้ำเย็น ซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนไปยังเครื่อง ทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะ ปรับอากาศ ของอาคาร น้ำเย็นที่ไหลเข้าไปใน เครื่องทำลมเย็นมีอุณหภูมิประมาณ 7 C แลไหลออกไปมีอุณหภูมิประมาณ 13 C ในขณะที่ อากาศ ที่ไหลเข้าไปมีภาวะที่ 26 C กระเปาะแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ 55 เปอร์เซ้นต์ และออกจากเครื่องที่ภาวะ 15.5 C กระเปาะแห้ง 14.5 C กระเปาะเปียก น้ำที่ออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้ม เข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องประธาน (Main Machine Room) เพื่อทำให้น้ำมีอุณหภูมิลดลง จาก 13 C เป็น 7 C เครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่ ปรับอากาศ มีส่วนประกอบคือ แผ่นกรองอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะ เป็นแผงใยอะลูมิเนียม แผงท่อน้ำเย็นที่มีน้ำเย็นไหลอยู่ภายใน มีโบล์เวอร์และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศ จากบริเวณที่ ปรับอากาศ ให้ไหลผ่านแผ่นกรอง และแผงท่อน้ำเย็น แล้วส่งอากาศ ที่ถูกกรองให้สะอาดและถูกทำให้เย็นลงเข้าไปใน ระบบปรับอากาศ ในบริเวณที่ ปรับอากาศ จะเห็นได้ว่าบริเวณที่ ปรับอากาศ นั้นมีเฉพาะเครื่องทำลมเย็นท่อน้ำ และท่อลมที่ต่อเข้ากับ เครื่องทำ ลมเย็นเท่านั้น ไม่มีส่วนที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ ไม่มีส่วนที่จะระเบิด ท่อน้ำอาจจะแตกได้ถ้าประกอบหรือเชื่อมไม่ดี และหาก ท่อแตก ก็จะทำให้น้ำรั่วกระจายทำความเสียหายเพราะเปียกน้ำเท่านั้น

งานระบบปรับอากาศ VRV/VRF

งานท่อลม PID

งานท่อลมผ้า

การติดตั้งพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน

บ้านที่มี ระบบปรับอากาศ ทั่วไปจะมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อระบาย อากาศ เสีย และนำเอาอากาศบริสุทธิ์ (FRESH AIR) เข้ามาหมุนเวียนภายในห้อง ซึ่งพัดลม ดังกล่าวอาจติดบริเวณผนังหรือบนหน้าต่างที่เป็นกระจก ซึ่งทำให้ไม่สวยงาม จึงนิยมระบาย ขึ้นไปในช่องว่างของฝ้าเพดาน ซึ่งถ้าจำนวนพัดลมมีมากและเป่าขึ้นเพดานพร้อมๆ กัน อาจ ทำให้อากาศระบายออกไม่ทัน วิธีแก้ไขก็คือ เพิ่มเกล็ดระบาย อากาศ บริเวณฝ้าเพดานส่วนภายนอกห้อง เพื่อให้ อากาศใต้ฝ้าระบายออกได้ทัน

ชนิดของเครื่องฟอกอากาศในบ้าน

มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  1. ระบบ แผ่นกรอง อากาศ จะทำงานโดยการกรอง ฝุ่นละอองต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้ติดอยู่บนแผ่นกรอง ระบบ นี้จะมีราคาถูก แต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่น กรองในระยะยาว คือ ต้องเปลี่ยนทุก 4-6 เดือน
  2. ระบบ ไฟฟ้าสถิต เป็น ระบบปรับอากาศ ที่ได้พัฒนาขึ้นมา อีกขั้นหนึ่ง คือ ใช้แผ่นกรอง ระบบ ไฟฟ้าสถิต โดยการดูด จับฝุ่นให้เข้ามาติดอยู่กับแผ่นกรอง สามารถดักจับฝุ่นขนาด เล็กมากๆ ได้ และยังผลิต อากาศ บริสุทธิ์ได้ด้วย ระบบปรับอากาศ นี้ ราคาค่อนข้างสูง แต่จะประหยัดในระยะยาว เพราะสามารถ ถอดล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกรอง
Spread the love
Back To Top