แอร์ฝังฝ้าเพดาน…
การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
การตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
- รายละเอียดที่ต้องการตรวจสอบ เส้นทางหนีไฟต้องไม่มีอุปสรรคกีดขวางจากพื้นที่ใด ๆ ความกว้างความสูงของเส้นทางหนีไฟ ระยะทางหนีไฟที่ปลอดภัย การปิด-เปิดประตูตลอดเส้นทาง สมรรถนะของบันไดหนีไฟ ความเสี่ยงในการพลัดตก ราวจับ ราวกันตก แสงสว่างในเส้นทางหนีไฟ ป้าย สัญลักษณ์เส้นทางหนีไฟ อุปกรณ์ระบบความปลอดภัย ช่องระบายอากาศในบันได การปิดช่องเปิดที่ผนัง การปิดช่องเปิดที่พื้นเพื่อป้องกันไฟลาม
- ความต้องการตามข้อกำหนดในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟ ให้มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัยต่อการใช้งานดังนี้ อาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทที่มีผู้อยู่อาศัยต้องจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟให้เพียงพอเหมาะสมกับลักษณะอาคาร เส้นทางหนีไฟต้องมีไม่น้อยกว่า 2 ทาง เพื่อให้มีทางเลือกในการหนีได้ ทางหนีไฟต้องอยู่ในตำแหน่งที่สังเกตเห็นได้โดยง่าย ภายในอาคาร หรือ สิ่งก่อสร้างทีมีผู้อยู่อาศัยต้องจัดเตรียมพื้นที่ปลอดภัยจากควัน และ ความร้อน หรือ อันตรายอื่น ๆ เส้นทางหนีไฟต้องไฟต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่สามารถหนีไฟได้โดยง่าย ประตูหนีไฟต้องผลักไปในทิศทางการหนี และ สามารถเปิดย้อนกลับเข้าในอาคารได้เพื่อการบรรเทาสาธารณภัย และ เส้นทางหนีไฟต้องมีแสงสว่างตลอดเวลาทั้งในภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน ต้องมีการป้องกันไฟลามตามช่องเปิดในแนวดิ่ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้สอยอาคาร ต้องมีการจัดเตรียมขนาดทางหนีไฟให้เหมาะสม และ เพียงพอ
- กฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องเส้นทางหนีไฟ โดยเบื้องต้นผู้ตรวจสอบจะต้องทำการศึกษาข้อกำหนดของกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน เพื่อได้จัดทำ และ ปรับปรุงแบบฟอร์มการตรวจสอบให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของอาคาร ผู้ตรวจสอบสามารถใช้แบบฟอร์มของกรมโยธาธิการเพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบได้ สำหรับกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ พอสรุปเป็นแนวทางได้พอสังเขปดังนี้ กฎหมาย พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
- ขั้นตอนในการตรวจสอบ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
- การศึกษาข้อมูล และ เตรียมตัวก่อนการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
- สอบถามข้อมูล
- การตรวจสอบเอกสาร
- การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง
- การจัดทำรายงาน และ สรุปผลการตรวจสอบ
- การศึกษาข้อมูล และ เตรียมตัวก่อนการตรวจสอบเส้นทางหนีไฟ
การตรวจสอบป้าย หรือ เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ
ส่วยประกอบสำคัญในเส้นทางหนีไฟ ถือว่าเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ทุกอาคารพึงต้องมี ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคารที่เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย หรือ ทางหนีไฟได้กำหนดจะต้องมีป้ายแสดงทางหนีไฟ และ ป้ายต้องมีไฟแสงสว่างสำรองฉุกเฉินส่องสว่างให้เห็นป้ายเพื่อนำไปสู่ทางออกได้ตลอดเวลา จากการสำรวจอาคารหลาย ๆ ที่พบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงเส้นทางออกฉุกเฉิน หรือ ติดตั้งแต่ไม่ได้มาตรฐาน และ ขาดการดูแลรักษาให้ป้ายอยู่ในสภาพพร้อมใช้ทั้งในสภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทางเดียวกันในการจัดทำป้ายเครื่องหมายทางหนีไฟที่ได้มาตรฐาน และ เหมาะสม จึงได้จัดทำแนวทางในการตรวจสอบ และ สรุปประเด็นสำคัญที่จะใช้ในการตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ตรวจสอบ หรือ ผู้ดูแลอาคารใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ให้อาคารเกิดสภาพที่ปลอดภัย
- รายละเอียดต้องทำการตรวจสอบ ป้าย หรือ เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ เพื่อนำผู้ใช้อาคารให้สามารถอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ควรจะทำการตรวจสอบให้ครอบคลุมรายละเอียดดังต่อไปนี้
- รูปแบบของป้ายเครื่องหมายต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน
- ขนาดของเครื่องหมาย และ สัญลักษณ์ ต้องเป็นตามกฎหมาย และ มาตรฐานเดียวกัน
- การติดตั้ง ตำแหน่ง ระดับ ระยะการมองเห็นของป้าย
- สภาพอุปกรณ์ ความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์
- แหล่งจ่ายไฟของป้ายในสภาวะปกติ และ สภาวะฉุกเฉิน
- สมรรถนะองป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ
- แผนผังแสดงทางหนีไฟ และ อุปกรณ์ระบบดับเพลิง
- เอกสารตรวจสอบ และ บำรุงรักษา
- ความต้องการตามข้อกำหนดเกี่ยวกับป้ายเครื่องหมายแสดงการหนีไฟ ตามข้อกำหนด หรือ หลักการพื้นฐานในการติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟให้ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานทั้งในสภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน มีดังนี้
- ตลอดเส้นทางหนีไฟต้องทำเครื่องหมายโดยใช้ป้ายสัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองที่มองเห็นได้โดยง่าย และ ชัดเจน
- ป้ายต้องมีรูปแบบที่ได้มาตรฐานทั้งอักษร และ สัญลักษณ์ ขนาด และ สี
- ป้ายต้องติดตั้งในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- ป้ายต้องมีไฟแสงสว่างส่องตลอดเวลา ทั้งในสภาวะปกติ และ ฉุกเฉิน
- ป้ายในบันไดหนีไฟต้องบอกชื่อบันได หมายเลขชั้น
- ทดสอบสมรรถนะการทำงานของไฟฟ้าสำรองฉุกเฉินที่ส่องสว่างให้ป้ายต้องไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
- แผนผังทางหนีไฟ และ อุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย ต้องแสดงในอาคารให้เห็นอย่างชัดเจน
- แปลนแผนผังอาคารต้องเป็นรูปแบบที่ได้มาตรฐาน
- แปลนแผนผังอาคารต้องฉบับล่าสุดตรงกับสภาพหน้างานจริง
- แผนผังต้องแสดงทางออกอย่างชัดเจนตรงกับหน้างานจริง
- มีการบำรุงรักษาป้าย เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟเป็นประจำ และ อุปกรณ์สามารถใช้งานได้
- กฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจสอบเรื่องป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ ทางหนีไฟแบะไฟแสงสว่างสำรองฉุกเฉิน จัดเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่กำหนดให้อาคารทุกประเภทต้องปฏิบัติ เช่น อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารโรงงาน สำนักงาน โรงพยาบาล รวมทั้งหอพักตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป ผู้ตรวจสอบต้องทำการศึกษาข้อกำหนดของกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อได้จัดทำ หรือ ปรับปรุงแบบฟอร์มการตรวจสอบให้ถูกต้อง เหมาะสมกับลักษณะของอาคาร อาจใช้แบบฟอร์มรายงานของกรมโยธาธิการได้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตรวจสอบ และ บันทึกการตรวจสอบ แต่อาจปรับปรุงให้เหมาะสมกับลักษณะอาคารที่ตรวจสอบได้เพื่อความเหมาะสม สำหรับกฎหมาย และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเครื่องหมาย ป้ายทางออกฉุกเฉินพอสรุปเป็นแนวทางได้พอสังเขป ดังนี้
- กฎหมาย “พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร”
- ป้ายบอกชั้นทั้งด้านใน และ ด้านนอกประตูหนีไฟ และ ป้ายบอกทางหนีไฟด้วยตัวอักษรลาสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจน
- แสงสว่างจากระบบไฟฟ้าฉุกเฉินเพียงพอ ที่จะมองเห็นช่องทางหนีไฟได้ชัดเจน
- พลังงานไฟฟ้าจากไฟสำรองฉุกเฉินสำหรับป้ายเครื่องหมายแสดงทางฉุกเฉิน
- จัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้นในตำแหน่งห้องต่าง ๆ ที่ชัดเจน รวมทั้งตำแหน่งของอุปกรณ์ดับเพลิงต่าง ๆ ประตู หรือ ทางหนีไฟ แผนผังของอาคารทุกชั้นเก็บรักษาไว้เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก
- มาตรฐานอ้างอิง ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
- มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และ โคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
- มาตรฐานอ้างอิง ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ขั้นตอนในการตรวจสอบ การตรวจสอบจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
- ขั้นตอนการศึกษาข้อมูล และ เตรียมตัวก่อนการตรวจสอบป้ายเครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ สอบถามข้อมูล การตรวจสอบเอกสาร
- การตรวจสอบสภาพหน้างานจริง
- การจัดทำรายงาน และ สรุปผลการตรวจสอบ
- การตรวจสอบการควบคุมการแพร่กระจายของควันไฟ ในเวลาเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้น ทำให้เกิดการแพร่กระจายของควันไฟไปยังพื้นที่ใกล้เคียง และ ไหลข้ามชั้นได้หากไม่มีการควบคุม หรือ ป้องกันการเคลื่อนที่ก็จะทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ เกิดการสูญเสียชีวิต และ ทรัพย์สินเป็นจำนวนมากเช่นหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ที่อาคารไม่มีการปิดล้อมป้องกันการลามของไฟในแนวดิ่ง เช่น ไม่ปิดช่องท่องานระบบ ไม่มีการปิดล้อมช่องเปิดที่บันไดหนีไฟ ซึ่งช่องเหล่านี้จะเปรียบเสมือนเป็นปล่องไฟ หรือ ช่องนำควันไฟ และ ความร้อนเพื่อส่งต่อไปทำความเสียหาย และ เกิดอันตรายต่อผู้ใช้อาคารในพื้นที่ใกล้เคียง และ ลุกลามไปทั้งอาคารได้เป็นอย่างดี